แบนเนอร์บทความ

ทัวร์เขมร /

เมืองพระตะบอง

.....พระตะบอง (Battambang) ออกเสียงแบบเขมรว่า ปัตตัมบอง แปลว่า ตะบองหาย จังหวัดพระตะบอง อยู่ทางภาคตะวันตกของกัมพูชา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว และจันทบุรีของประเทศไทย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 พระตะบองมีความสำคัญในฐานะพื้นที่แห่งการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสยามกับญวน และกับฝรั่งเศส ในเวลาต่อมาพระตะบองเริ่มมีความสำคัญในฐานะเมืองการค้า ซึ่งมีประชากรตั้งถิ่นฐานประมาณ 2,500 คน .....พระตะบองเป็นเมืองเล็กๆ มีแม่น้ำที่ไหลมาจากจันทบุรีชื่อแม่น้ำสตังซังเกอร์ (Stung Sangker) ไหลผ่านกลางเมืองก่อนจะไหลไปลงโตนเลซาบ ด้วยเหตุนี้พระตะบองจึงอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและแหล่งทำมาหากินของชาวเมือง .....พระตะบองมีเสน่ห์ที่วิถีชีวิตแบบชนบทเรียบง่าย ชาวบ้านยังใช้วัวเทียมเกวียน ม้าเทียมเกวียน ในการสัญจรไปมา ตลาดสดพระตะบองเป็นตลาดเก่าริมแม่น้ำ พ่อค้าแม่ขายที่นี่เริ่มกิจกรรมค้าขายกันราวเก้าโมงเช้า สินค้าหลักคือ ปลานานาชนิด ชาวบ้านจะเอาปลาเป็นๆ มาวางเรียงรายบนใบตองรอลูกค้ามาเลือกซื้อ .....ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกอย่าง ซึ่งมีชื่อเสียงระบือไกลไปทั่วโลก นั่นคือรถไฟไม้ไผ่ ประดิษฐกรรมจากภูมิปัญญาชาวพระตะบองที่ใช้เป็นพาหนะสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน โดยการนำแคร่ไม้ไผ่มาวางบนล้อรถ ใส่เครื่องยนต์เล็กๆ เข้าไปแล้วพ่วงสายพานไปหมุนล้อใช้แล่นไปตามรางรถไฟที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นสมัยครอบครองกัมพูชา ซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว .....ต่อมานักท่องเที่ยวเห็นรถไฟไม้ไผ่แล้วอยากใช้บริการบ้าง การนั่งรถไฟไม้ไผ่ชมอาคารสไตล์โคโลเนียลที่ยังคงเหลือในพระตะบอง และสัมผัสกลิ่นอายชนบทอย่างใกล้ชิดจึงกลายเป็นกิจกรรมยอดนิยมไป .....* วัดพนมซัมเปย .....ในอดีตวัดพนมซัมเปย (Phnom samprou) เป็นที่ตั้งของถ้ำที่เขมรแดงใช้สังหารเหยื่อผู้ต่างอุดมการณ์ด้วยวิธีต่างๆ แล้วโยนลงมาในเหวที่เป็นปล่องถ้ำ ต่อมากระดูกของผู้เคราะห์ร้ายในถ้ำถูกเก็บ ใส่ในตู้ไว้ส่วนหนึ่ง แล้วต่อมาได้มาทำเป็นวัดบนยอดเขาภายหลัง .....เมืองไพลิน ถิ่นเขมรแดง .....ไพลิน (Pailin) เป็นเมืองเล็กๆ ตั้งในพื้นที่เนินเขาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ความสำคัญของเมืองแห่งนี้คือ การเป็นแหล่งอัญมณีของกัมพูชาและเป็นฐานที่มั่นคงของเขมรแดงในช่วงปี ค.ศ. 1979 หลังเวียดนามยกกองทหารมาขับไล่ออกจากพนมเปญ ทำให้เขมรแดงมีรายได้จากการค้าอัญมณี เพื่อนำมาใช้ต่อสู้กับรัฐบาลที่มีเวียดนามให้การสนับสนุนได้อีกหลายปี .....เชื่อกันว่าหินมีค่าในพื้นที่แถบนี้สร้างรายได้ให้กลุ่มเขมรแดงกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน เขมรแดงยึดเมืองไพลินไว้ได้จนถึงเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1996 ก่อนที่ผู้นำซึ่งแฝงตัวในพื้นที่แถบนี้อย่างเอียงสารี จะประกาศยอมแพ้จะเข้ามอบตัวต่อรัฐบาล

ทัวร์เขมร /

เมืองเสียมเรียบ

.....เมืองเสียบเรียบ หรือเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเสียมเรียบทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ถือเป็นประตูสู่พระนคร ชื่อเสียมเรียบ หมายความถึง สยามพ่ายแพ้ โดยผู้ที่ตั้งชื่อเมืองแห่งนี้ คือ สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ผู้มีพระทัยฝักใฝ่กับเวียดนามในยามที่เขมรยังมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 .....เดิมเสียมเรียบเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ในชนบท และแม้จะอยู่ไม่ไกลจากเมืองพระนคร แต่พื้นที่แทบนี้จะไม่มีโบราณสถานใดๆ ฝรั่งเศส เริ่มรู้จักเสียมเรียบในปี ค.ศ. 1907 หลังจากนั้นเสียมเรียบก็เติมโตขึ้นเรื่อยๆ โดยทำหน้าที่เป็นเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือนเมืองพระนคร เพราะเสียมเรียบมีโรงแรมใหญ่มาตั้งเป็นแห่งแรกๆ ในปี ค.ศ. 1929 ได้แก่ Grand Hotel d'Angkor มีคนดังระดับโลกมาพักมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแจ็คเกอลีน เคนเนดี้ โอนาสซิส หรือชาร์ลี แชปลิน ฯลฯ .....หลังปี ค.ศ. 1975 ในยุครัฐบาลเขมรแดง คนในเสียมเรียบ ถูกกวาดต้อนออกไปทำไร่ไถนาในท้องถิ่นชนบท ทำให้เสียมเรียบกลายเป็นเมืองร้างอยู่หลายปี กระทั่งเขมรแดงหมดอำนาจ เสียมเรียบจึงกลับมามีบทบาทในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชาอีกครั้ง มีที่พักทุกระดับเปิดให้บริการ รวมทั้งสิ่งที่รองรับนักท่องเที่ยวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ย่านชอปปิง และท่าอากาศยานนานาชาติ .....เมืองพระนคร .....เมืองพระนคร (Angkor) ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเสียมเรียบ ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 310 กิโลเมตร ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรอันรุ่งเรือง ซึ่งเริ่มก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะถูกทับสยามรุกรานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนต้องมีการอพยพยกย้ายไปตั้งนครหลวงแห่งใหม่ กุญแจสำคัญในความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้คือ การที่กษัตริย์เขมรสามารถ วางระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนจึงพากันมาอยู่อาศัยทำกิน ทำให้อำนาจ และมีบารมีของกษัตริย์หลายรัชสมัยมีความมั่นคงและแผ่ขยายออกไป .....สิ่งที่ยืนยันความรุ่งเรืองของดินแดนเขมรและอำนาจอันไพศาลของกษัตริย์คือ หมู่เทวสถานที่สร้างขึ้นอย่างหนาแน่น ในปี ค.ศ. 1992 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกยกย่องให้เมืองแห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยในเขตเมืองพระนคร ประกอบด้วย โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง .....นครธม .....เมืองนครธม (Angkor Thom) ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเสียมเรียบ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของทะเลสาบเขมร เมื่อครั้งจูต้า-กวน ทูตจีนเดินทางมาเยือนกัมพูชาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 เขาได้บันทึกถึงเมืองใหญ่แห่งหนึ่งที่เรียกว่า นครธม เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสท่ามกลางวงล้อมของ คูเมืองที่กว้างกว่า 100 เมตร และกำแพงสูง 8 เมตร กำแพงแต่ละด้านมีความยาวราว 3 กิโลเมตร เมืองในกรอบสี่เหลี่ยมแห่งนี้มีทางเข้า 5 ประตู

ทัวร์เขมร /

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา เป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกับไทย มีประวัติศาสตร์ อารยธรรมยาวนาน นครวัด และนครธม นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่อัศจรรย์ชิ้นหนึ่งในเอเชีย ศิลปวัฒนธรรมที่งดงามของกัมพูชา มีความคล้ายคลึงกันมากกับศิลปวัฒนธรรมไทย ภาษาเขมรมาจากรากศัพท์สันสกฤต จึงมีคำหลายคำในภาษาเขมรที่คุ้นหูคนไทย นอกจากนี้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสยังคงมีให้เห็นในเมืองหลวงและต่าง จังหวัด ข้อควรระวัง ในการเยือนกัมพูชา ควรระวังเรื่องสุขภาพเนื่องจากยังมีโรคภัยต่างๆ ที่อาจติดต่อได้ หากไม่หามาตรการป้องกันไว้ก่อน เช่น ท้องร่วง มาลาเรีย และไวรัส เอ บี และการบริการของโรงพยาบาลในกรุงพนมเปญอาจไม่ได้มาตรฐานเท่ากับประเทศไทย   ข้อควรปฏิบัติ การเตรียมตัวสำหรับนักท่องเที่ยว .....แม้ประเทศกัมพูชาจะดูเหมือนใกล้ชิดกับไทย และไม่น่าจะต่างกันมากนัก แต่อย่าได้ประมาท เพราะมีสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องพึงระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความเชื่อท้องถิ่น ที่อาจทำให้เข้าใจผิดกันได้ง่าย เรื่องต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่คุณควรรู้ไว้ก่อนออกเดินทาง -คำว่า “เขมร” เป็นคำเรียกที่คนไทยคุ้นเคย แต่ความจริงชาวกัมพูชาชอบให้เรียกเขาว่า “ขแมร์ มากกว่า -ในกัมพูชา ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เวลาไปเที่ยวชมวัดวาอารามหรือสถานที่ซึ่งชาวบ้านท้องถิ่นกำลังประกอบกิจกรรม ทางศาสนาอยู่ โปรดแต่งกายสุภาพ -โดยทั่วไปวัฒนธรรมเขมรกับไทยไม่ต่าง กันมากนัก ซึ่งอาจทำไม่ยากในการปรับตัวและเข้าใจ คนเขมรชอบคนอ่อนน้อม มีมารยาท ไม่ต่างจากไทย ผู้น้อยเคารพผู้อาวุโสกว่า เจอหน้าก็ยกมือไหว้กัน ชาวเขมรนิยมการไหว้แสดงความเคารพกันเช่นเดียวกับไทย -มารยาทในที่สาธารณะอย่างการจับมือถือแขนอาจไม่หนักหนา แต่หากถึงขั้นโอบคอ โอบไหล่ กอดจูบกันนั้น ฝรั่งไม่ถือ แต่คนเขมรถือเช่นเดียวกับคนไทย -ควรเตรียมธนบัตร ๑, ๕, ๑๐ หรือ ๒๐ ดอลลาร์ สหรัฐฯ ไปมากๆ เพราะมีโอกาสใช้มากกว่า และไม่ต้องห่วงเรื่องเงินทอน - บัตรเครดิตและเช็คเดินทาง ใช้ได้อย่างจำกัดในกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นการรูดซื้อของหรือรูดเงินสด มีแต่ตามร้านค้า และโรงแรมเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น พนมเปญ เสียมเรียบ และสีหนุวิลล์ เท่านั้น ที่ยินดี รับบัตรเครดิตแทนเงินสด ทางที่ดีควรเตรียมเงินสดไปให้พอ - หากคุณโชคดีเจอร้านค้า-สถานบริการที่รับบัตรเครดิต ก็ต้องรับเงื่อนไขที่ส่วนใหญ่มักชาร์จ 3% ยกเว้นตามโรงแรมใหญ่ๆ และสายการบินเท่านั้น - เวลาแลกเงินตามธนาคาร เขาให้สลิบมาด้วย อย่าทิ้งไปเสียก่อน เก็บไว้ให้ดี เผื่อคุณต้องใช้ตอนขาออกจากประเทศ -โปรดสังเกตป้าย “No Touch” ซึ่งมีอยู่ตามแหล่งโบราณสถานหลายแห่งของกัมพูชา โดยเฉพาะที่นครวัด และโปรดปฏิบัติตามด้วย เพราะภาพแกะสลักที่นี่ โดนมือมนุษย์ลูบคลำมากว่าพันปีแล้ว -ขออนุญาตก่อน เวลาคุณอยากถ่ายรูปชนชาติส่วนน้อย ชาวเขาและชนเผ่าต่างๆ พวกเขามักยินดี ถ้าคุณบอกก่อน นี่รวมถึงพระสงฆ์-นักบวชด้วย การถ่ายภาพพิธีกรรมต่างๆ ต้องสอบถามเจ้าของงานหรือผู้อาวุโสในที่นั้นว่า

ทัวร์เกาหลี /

ประเทศเกาหลี

ยุคเผ่า .....ในยุคแรกดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ เผ่าแรกที่ปรากฏคือเผ่าโชซ็อนโบราณ ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือ เรืองอำนาจในช่วงพ.ศ. 143 - 243 ส่วนเผ่าครอง เมื่อได้เอกราชจากจีน คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยสามอาณาจักสำคัญก่อนจะรวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียวปกครองอื่นได้แก่เผ่าพูยอ อยู่บริเวณปากแม่น้ำซุงคารีทางแมนจูเรียเหนือ เผ่าโคกูรยออยู่ระหว่างแม่น้ำพมาก และแม่น้ำอัมนก เผ่าอกจออยู่บริเวณมณฑลฮัมกย็อง เผ่าทงเยอยู่บริเวณมณฑลคังว็อน และเผ่าสามฮั่นคือ มาฮั่น ชินฮั่น และพยอนฮั่น ที่อยู่บริเวณแม่น้ำฮั่นและแม่น้ำนักดง ทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พระมหากษัตริย์ในตำนาน .....ตำนานที่เป็นที่แพร่หลายในประเทศเกาหลีเล่าถึงกำเนิดของชนชาติตนว่า เจ้าชายฮวางวุง โอรสของเทพสูงสุดบนสวรรค์ลงมาสร้างเมืองที่ภูเขาแทแบ็ก ได้แต่งงานกับหญิงที่มีกำเนิดจากหมี มีโอรสชื่อตันกุน ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโชซ็อนโบราณ เมื่อ 1790 ปีก่อนพุทธศักราช ดินแดนคาบสมุทรเกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นจีนเมื่อ พ.ศ. 434 เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้หรือกวนอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นยกทัพเข้ายึดครองดินแดนของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และแบ่งเกาหลีเป็น 4 มณฑล คือ อาณาจักรนังนัง ชินบอน อิมดุน และฮย็อนโท อย่างไรก็ตาม จีนปกครองมณฑลนังนังอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียว มณฑลอื่น ๆ จึงค่อย ๆ แยกตัวเป็นเอกราช จน พ.ศ. 856 ชนเผ่าโคกูรยอเข้ายึดครองมณฑลนังนัง ขับไล่จีนออกไปได้สำเร็จ การตกเป็นเมืองขึ้นของจีนทำให้เกาหลีได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาก เช่นตัวอักษรและศาสนา (พุทธและขงจื๊อ) ยุคสามก๊ก • เมื่อเป็นเอกราชจากจีน ดินแดนเกาหลีในขณะนั้นแบ่งเป็น 3 อาณาจักรด้วยกันคือ • อาณาจักรโคกูรยอ ทางภาคเหนือ เผ่าโคกูรยอเริ่มเข้มแข็งมากขึ้นเมื่อราชวงศ์ฮั่นของจีนล่มสลาย และสามารถขยายอำนาจเข้ายึดครองมณฑลนังนังจากจีนได้เมื่อ พ.ศ. 856อาณาจักรแพ็กเจก ชนเผ่าแพ็กเจซึ่งเป็นเผ่าย่อยของเผ่าพูยอที่อพยพลงใต้ เข้ายึดครองอาณาจักรอื่นรวมทั้งอาณาจักรเดิมของเผ่าฮั่น ตั้งเป็นอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 777 • อาณาจักรชิลลา อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พัฒนาขึ้นจากเผ่าซาโร แต่อาณาจักรนี้ไม่เข้มแข็งมากนักในช่วงแรก ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับโคกูรยอตลอดจนกระทั่งหลังสงครามระหว่างโคกูรยอกับแพ็กเจ อาณาจักรชิลลาจึงเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถยึดครองลุ่มแม่น้ำฮั่นและลุ่มแม่น้ำนักดงจากแพ็กเจได้ ยุคอาณาจักรเอกภาพ "อาณาจักรชินลา .....เมื่ออาณาจักรชินลาเข้มแข็งขึ้น อาณาจักรแพ็กเจกจึงหันไปผูกมิตรกับอาณาจักรโคกูรยอ ส่วนอาณาจักรชิลลาหันไปผูกมิตรกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีน กองกำลังผสมระหวางจีนกับชิลลายึดครองอาณาจักรแพ็กเจได้เมื่อ พ.ศ. 1203 และยึดครองอาณาจักรโคกูรยอได้ใน พ.ศ. 1211 โดยจีนเข้ามาปกครองโคกูรยอในช่วงแรก ต่อมาอาณาจักรชิลลากับราชวงศ์ถังเกิดขัดแย้งกัน ชิลลาจึงเข้ายึดโคกูรยอจากจีนและเข้าปกครองคาบสมุทรเกาหลีอย่างเด็ดขาดเมื่อ พ.ศ. 1278 อาณาจักรชิลลาเจริญสูงสุดในยุคกษัตริย์คยองตอก หลังจากนั้นได้เสื่อมลงโดยสาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งในหมู่เชื้อพระวงศ์และเกิดการปฏิวัติบ่อยครั้ง กลุ่มชาวนาและกลุ่มอำนาจท้องถิ่นที่รู้สึกว่าถูกกดขี่ได้รวมกำลังกันต่อต้านอำนาจรัฐ วังกอน ผู้นำกลุ่มต่อต้านคนหนึ่ง เข้ายึดอำนาจและสถาปนาราชวงศ์โครยอขึ้นเมื่อพ.ศ. 1478 ยุคอาณาจักรเหนือใต้ .....เมื่ออาณาจักรโคกูเรียวและอาณาจักรแพ็กเจถูกอาณาจักรชิลลาตีจนแตกพ่ายไปนั้น มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งรวบรวมชาวบ้านที่เป็นชาวโคกูรยอที่ถูกทัพชิลลาโจมตีแล้วอพยพขึ้นเหนือ แล้วก่อตั้งอาณาจักรใหม่มีชื่อว่า "อาณาจักรพัลแฮ" แล้วทางใต้ก็มีอาณาจักรชิลลาที่รวมแผ่นดินของอาณาจักรโคกูเรียว อาณาจักรแพ็กเจ และอาณาจักรชิลลาเดิมเข้าด้วยกันแล้วเรียกว่า "อาณาจักรรวมชิลลา" ในยุคนี้จึงมีสองอาณาจักรที่อยู่ทางเหนือ คือ อาณาจักรพัลแฮที่สืบต่อจากอาณาจักรโคกูเรียวเดิม และทางใต้มีอาณาจักรรวมชิลลาที่รวมอาณาจักรโคกูเรียวเดิม อาณาจักรแพ็กเจเดิม และอาณาจักรชิลลาเดิมเข้าเป็นอาณาจักรเดียว จึงเรียกยุคนี้ว่า "ยุคอาณาจักรเหนือใต้" ยุคสามอาณาจักรหลัง .....หลังจากอาณาจักรพัลแฮถูกราชวงศ์เหลียวตีจนแตกนั้นประชาชนพากันอพยพลงใต้มาบริเวณอาณาจักรโคกุเรียวเดิม แล้วเชื้อพระวงศ์ของอาณาจักรพัลแฮ ก็สถาปนาอาณาจักรใหม่บริเวณอาณาจักรโคกุเรียวเดิม แล้วให้ชื่อว่า "อาณาจักรโคกูเรียวใหม่" แล้วสถาปนาตนเองป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้ากุงเย ส่วนชาวแพ็กเจที่อยู่ในอาณาจักรรวมชิลลาก็ได้ก่อกบฏต่ออาณาจักร มีหัวหน้าคือ คยอน ฮวอน

ทัวร์พม่า /

ประเทศพม่า

เอกราช พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มีออง ซาน นักชาตินิยม และเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ้นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ   …..เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่เดินออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์   …..ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา   …..ประเทศพม่า หรือ เมียนมาร์ (Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of Myanma) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาวและไทย สำหรับนักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการเดินทางไปเยือน พม่าควรมีการ เตรียมตัวก่อนการเดินทาง ดังต่อไปนี้ เกร็ดน่ารู้ ก่อนไป เที่ยวพม่า   เกร็ดน่ารู้ ก่อนไป เที่ยวพม่า   การเตรียมพร้อมด้านร่างกาย แนะนำว่าควรตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบถ้วน รวมถึงเตรียมยาประจำตัวมาให้เพียงพอ เพราะการสาธารณสุขของเมียนมาร์ยังไม่ทันสมัย การเตรียมพร้อมด้านการเงิน ระบบการเงินระหว่างประเทศของเมียนมาร์ต้องผ่านระบบธนาคารของรัฐเท่านั้น และตู้เบิกเงินอัตโนมัติมีไม่แพร่หลาย
Promotion 0%